วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ความเป็นมาของระบบอินเทอร์เน็ต

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์

❥ คือช่วงต้นปีคริสต์ศตวรรษ 1960 (ประมาณปี 2503) ซึ่ง

เป็นยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับโซเวียต

มีความเสี่ยงทางการทหารและความเป็นไปได้ที่จะถูกโจมตีด้วยอาวุธปร

มาณูหรือ นิวเคลียร์

การทำลายล้างศูนย์คอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารจ้อมูล

อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบและในช่วงนี้ระบบคอมพิวเตอร์และระบ

บการสื่อสาร ข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ

จึงมีแนวคิดในการวิจัยระบบที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์และ

แลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้

      ❥ อินเทอร์เน็ตจึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี

พ.ศ.2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า U.S. Defense

Department คิดขึ้นเพื่อให้มีระบบเครือข่ายสื่อสารที่ไม่มีวันตาย

แม้จะถูกโจมตีจากสงคราม เรียกเครือข่ายนี้ว่า ARPAnet (Advances

Research Project Agency

Network) จุดเริ่มของ ARPAnet ได้ทำการทดลองเชื่อมคอมพิวเตอร์จาก

4 แห่ง โดยเริ่มจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย

(UCLA) กับสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด

(SRI) ทั้งสองแห่งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ

มหาวิทยาลัยซานตาบาร์บารา(UCSB) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย

มหาวิทยาลัยแห่งรัฐยูทาห์

(UTAH) ความสำเร็จของเครือข่ายทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐ

อเมริกา

นำมาพัฒนาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

(Electronic Mail : E-Mail)รับส่งข่าวสาร แฟ้มเอกสารต่าง ๆ

ในงานวิจัยทางวิชาการ ปี

พ.ศ.2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ บริษัท ห้างร้าน

องค์กรเอกชนต่าง ๆ เริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจ

มีการซื้อขายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (E-

Commerce) จนเกิดกระแสนความนิยมในธุรกิจดอทคอมมากขึ้น

        ❥ จนกระทั่งปี พ.ศ.2528

(ค.ศ.1985) ระบบอินเทอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีที่สมบูรณ์พร้อมรองรับก

ารใช้งานด้านการสื่อสารแพร่ขยายในวงกว้าง โดยเฉพาะการใช้งาน E-

Mail, Chat, Telnet, FTP, Gopher, Fingerฯลฯ

*.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚・✿.。.:* *.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚・✿.。.:* *.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚

ในประเทศไทยเริ่มใช้งานครั้งแรกใน ปี

พ.ศ.2532

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ผ่านระ

บบโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ)

กับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียเพื่อการรับส่งอีเมล และปี

พ.ศ.2535 ได้มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างถาวร

โดยมีจุดเชื่อมต่อ Gateway 2แห่ง คือ

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

(NECTEC) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอินเทอร์เน็ต

เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระดับมหาวิทยาลัย (Campus

Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์

เมื่อเดือนสิงหาคม 2535 และในปี 2538 การสื่อสารแห่งประเทศไทย

(กสท.) ร่วมมือกับเอกชนรายแรกโดยใช้ชื่อว่า อินเทอร์เน็ตเคเอสซี

(KSC) ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์

เรียกโดยย่อว่า ISP (Internet Service Provider)

*.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚・✿.。.:* *.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚・✿.。.:* *.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚

การเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย(wir

e internet)

 การเชื่อมต่อแบบองค์กร ในกรณีนี้ผู้ขอเชื่อมต่อเป็นองค์กรที่มีการจัดตั้

งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กร (LAN) อยู่แล้ว การเชื่อมต่อสามา

รถเอาเครื่องแม่ข่าย

(Server) ของเครือข่ายนั้นมาเชื่อมต่อได้เลย จะทำให้เครื่องอื่นๆ

ในระบบทั้งหมดสามารถเข้าไปใช้งานในอินเตอร์เน็ตได้ การเชื่อมต่อแ

บบนี้อาจเชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ หรือ คู่สายเช่า (Lease line)

2.  การเชื่อมต่อส่วนบุคคล บุคคลทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอ

ร์เน็ตโดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์  ผ่านอุ

ปกรณ์ที่เรียกว่า Modem  การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า

การเชื่อมต่อแบบ dial-up  โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ก่อน

องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนบุคคล

1. โทรศัพท์

2.  เครื่องคอมพิวเตอร์

3.  ISP

4.  Modem

 การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย

(Wireless Internet)

            1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้าน

เคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

(Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี

โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้

ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

            2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile

Internet)

          - WAP (Wireless Application

Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเ

ตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup

Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษาHTML (Hypertext

markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน

หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต

ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6

kbps และการใช้WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น

จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง

           - GPRS (General Packet Radio

Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่

อมต่อกับอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง

และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย

ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ

ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุนGPRS อยู่ที่ 40

kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56

kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง

ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้ว

           - โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple

Access) ระบบ CDMA นั้น

สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี

โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153

Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ

อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้

ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย

           - เทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth

Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบ

บไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ

ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4

GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบ

ลูทูธเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น

โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

            3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ

เครื่องปาล์ม (Palm)

ผ่านโทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน

GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ

ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่

ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet

SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะด

วกและรวดเร็วมากขึ้น

*.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚・✿.。.:* *.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚・✿.。.:* *.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚

อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

ADSL  อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

การเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไปในอดีตและปั

จจุบันส่วนใหญ่จะใช้วิธีการหมุนโมเด็มเข้าสู่ระบบ

ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโมเด็มในปัจ

จุบันสูงสุดได้ไม่เกิน 56 กิโลบิตต่อวินาที(Kbps) แต่ในความเป็นจริงแล้

น้อยครั้งที่เราสามารถใช้งานโมเด็มได้เต็มความสามารถที่ความเร็วดังก

ล่าว เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่นสภาพของคู่สายโทรศัพท์ไม่ดีพอ

หรือขีดความสามารถของผู้ให้บริการ

ซึ่งการใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วต่ำดังกล่าวได้สร้างความเบื่อหน่

ายให้กับนักท่องอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างยิ่ง

และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในบ้

านเราปัจจุบันยังไม่สูงมากนัก

อีกทางเลือกหนึ่งของผู้ใช้ตามบ้านปัจจุบันคือการใช้เคเบิ้ลโมเด็ม ซึ่ง

ถึงแม้จะให้ความเร็วที่สูงแต่ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่ต้องลงทุนเดินสายสัญญา

ใหม่ทำให้ต้องจ่ายค่ายริการที่ค่อนข้างสูงและมีพื้นที่บริการจำกัดอยู่เฉพ

าะ ในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น สำหรับผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มองค์กร หรือบริษัท

ต่างๆ ก็อาจมีทางเลือกมากขึ้นในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้แก่

การใช้คู่สาย ISDN ,วงจรเช่า(Leased Line),ไฟเบอร์ออพติค

หรือตลอดจนดาวเทียมเป็นต้น

ซึ่งแม้จะสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ด้วยความเร็วที่สูงกว่า

แต่สิ่งที่ตามมาก็คือค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าหลายเท่าเช่นกัน

แต่ในวันนี้ผู้ใช้งานทั้งสองกลุ่มมีทางเลือกที่ดีกว่า

ทั้งด้านประสิทธิภาพและราคา ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า ADSL

ADSL (Asymmetric Digital Subscriber

Line) เป็นหนึ่งในสมาชิกของเทคโนโลยีตระกูลDSL (Digital

Subscriber Line) หรือบางครั้งเรียกว่า xDSL ได้แก่ HDSL (High Bit

Rate DSL), SDSL (Symmetric DSL), VDSL (Very High Bit Rate

DSL),RADSL (Rate Adaptive DSL)เป็นต้น

ซึ่งเทคโนโลยีตระกูลนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการ

ส่งข้อมูลผ่านคู่สายทองแดงที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน

ให้มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้มากขึ้น เป็น

การใช้ประโยชน์จากโครงข่ายเดิมที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดย

ที่ไม่

ต้องลงทุนสร้างโครงข่ายใหม่ทั้งหมดในบรรดาเทคโนโลยีตระกูล DSL

ความจริงแล้วก็สามารถกล่าวได้ว่าเป็นโมเด็มชนิดหนึ่งนั่นเอง

แต่สิ่งที่แตกต่างที่เห็นได้ชัดคือความเร็วในการส่งข้อมูล

ซึ่งในบรรดาเทคโนโลยีตระกูล DSL ที่ใช้งานกันในเครือข่ายอินเตอร์เ

น็ตใน  

ปัจจุบัน ADSL เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมและได้รับความนิยมสูงสุด

เนื่องจากว่าในการใช้งานโดยทั่วไปเราจะเป็นผู้ที่โหลดข้อมูลจากเครือ

ข่ายมากกว่าส่งข้อมูลไปยังเครือข่าย

ซึ่งโมเด็ม ADSL มีความสามารถในการดาวโหลดข้อมูลจากผู้ให้บริการ

(Downstream) ได้สูงสุดถึง 8 เมกกะบิตต่อวินาที

(Mbps) และสามารถส่งข้อมูลขึ้นไปยังผู้ให้บริการ(Upstream) ได้สูงถึง

ประมาณ 640 กิโลบิตต่อวินาที

จากการที่ความเร็วในการรับและส่งข้อมูลที่ไม่เท่ากันจึงเป็นที่มาของคำ

ว่า Asymmetric DSL นั่นเอง

ซึ่งความเร็วในการดาวโหลดข้อมูลของ ADSL หากเทียบกับโมเด็มปกติ

(56 Kbps) แล้วจะเร็วกว่าถึงประมาณ140 เท่าเลยทีเดียว

หากยังนึกไม่ออกว่าจะเร็วขนาดไหน

ก็ขอยกตัวอย่างการดาวโหลดโปรแกรมซักโปรแกรมหนึ่งที่มีขนาด 10 เ

มกกะบิต

หากใช้โมเด็มปกติจะใช้เวลาในการดาวโหลดถึงประมาณสามชั่วโมง

เรียกว่ารอกันจนเหนื่อยเลย แต่หากเป็น ADSL แล้วจะใช้เวลาเพียง

ประมาณนาทีครึ่งเท่านั้นเอง  อะไรที่ทำให้เทคโนโลยี ADSL จึงทำได้เ

หนือกว่าโมเด็มธรรมดาขนาดนั้น

ก็ต้องอธิบายก่อนว่าโมเด็มธรรมดาได้ใช้การส่งข้อมูลไปในช่องสัญญา

ณเดียวกับช่องสัญญาณโทรศัพท์

ซึ่งมีช่วงแบนวิทด์(ช่วงกว้างของความถี่) เพียง 4 กิโลเฮิร์ต เท่านั้นเอง

ด้วยเทคโนโลยีการมอดดูเลชั่น(การผสมสัญญาณข้อมูลเข้ากับคลื่นพาห

ปัจจุบันจึงทำให้สามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดเพียง 56 กิโลบิตต่อวินาทีและ

ข้อมูลจะถูกส่งผ่านสายโทรศัพท์ไปยังตัวสวิทชิ่งของชุมสายโทรศัพท์แล

ะถูกส่งต่อไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต แต่ในความจริงแล้วคู่สายโทรศั

พท์ที่เป็นสายทองแดงมีช่วงความถี่กว้างถึงประมาณหนึ่งเมกกะเฮิร์ต

*.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚・✿.。.:* *.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚・✿.。.:* *.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚

บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต

บริการต่าง ๆ

บนอินเตอร์เน็ต         บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออำนวย

ความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ซึ่งในที่นี้

จะยกตัวอย่างบริการบนอินเทอร์เน็ตที่สำคัญดังนี้

1.บริการด้านการสื่อสาร      

 ☞1.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail)

        ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล์ (E-

mail) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมประจำวันของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งการส่งแล

ะรับจดหมาย หรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลกนี้จำเป็นจะต้องมีที่อยู่อีเมล์

(e-mail address หรือ e-mail

account) เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย ที่อยู่ของอีเมล์จะประกอบ

ด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User

name) และชื่อโดเมน(Domain

name) ซึ่งเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีรายชื่อของผู้ใช้อีเมล์ โดยชื่อผู้

ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @(อ่านว่า แอ็ท)

เช่น Sriprai@sukhothai.siamu.ac.th จะมีผู้ใช้อีเมล์ชื่อ Sriprai ที่มีอ

ยู่อีเมล์

ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ sukhothai ของมหาวิทยาลัยสยาม(siamu) ซึ่ง

เป็นสถาบันการศึกษา (ac) ในประเทศไทย (th)

ในการรับ-

ส่งจดหมาย โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้มีการพัฒนาโปรแกรม

ที่ใช้สำหรับอีเมล์อยู่หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook

Express โปรแกรม Netscape

Mail เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับที่อยู่อีเมล์ไ

ด้ฟรีจาก เว็บไซต์ที่ให้บริการที่อยู่อีเมล์ฟรี เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักและนิยม

ได้แก่ www.hotmail.com, www.chaiyo.com,

www.thaimail.com โดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบหลัก ๆ

ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนหัว

(header) และส่วนข้อความ (message)

           ☞  1.2 รายชื่อกลุ่มสนทนา (mailing lists)        mailing

lists เป็นกลุ่มสนทนาประเภทหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่มีการติดต่อสื่อสารแ

ละการส่ง ข่าวสารให้กับสมาชิกตามรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกที่มีอยู่ ใ

นรายการซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่ม mailing

lists ที่แตกต่างกันตามความสนใจจำนวนมาก การเข้าไปมีส่วนร่วมในก

ลุ่มสนทนาประเภทนี้

ผู้ใช้จะต้อง สมัครสมาชิกก่อนด้วยการแจ้งความประสงค์และส่งชื่อและที่

อยู่เพื่อการลงทะ เบียบไปยัง subscription address ของ mailing

lists ตัวอย่าง mailing list เช่น

ทัวร์ออนไลน์ (tourbus@listserv.aol.com)กลุ่มสนทนาเรื่องตลก (dail

yjoke@lists.ivllage.com)

             ☞ 1.3 กระดานข่าว (usenet)

        ยูสเน็ต (usenet หรือ user

network) เป็นการรวบรวมของกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ซึ่งเป็นกลุ่มผู้

สนใจที่ต้องการจะติดต่อและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็

ตคนอื่น ๆ

กลุ่มของ newsgroup ในปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 กลุ่มที่มีความสนใจ

ในหัวข้อที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้สนใจศิลปะ กลุ่มคอมพิวเตอร์

กลุ่มผู้ชื่นชอบภาพยนต์

เป็นต้น การส่งและรับแหล่งข่าวจาก usenet จะใช้โปรแกรมสำหรับอ่าน

ข่าวเพื่อไปดึงชื่อของกลุ่มข่าวหรือหัวข้อจากเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้เ

ข้าไปขอใช้บริการ เช่นเดียวกับระบบชื่อโดเมน (DNS) กลุ่มข่าวจะมีกา

รตั้งชื่อเพื่อใช้เป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งชื่อกลุ่มจะประกอบด้วยส่วนประกอ

บหลัก ๆ คือ ชื่อหัวข้อกลุ่มข่าวหลัก (major

topic) ชื่อกลุ่มข่าวย่อย (subtopic) และประเภทของกลุ่มข่าวย่อย (divi

sion of subtopic)

          ☞1.4 การสนทนาออนไลน์ (On-line chat)

        การสนทนาออนไลน์ เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้

สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คน อื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน (real-

time) การสนทนาหรือ chat (Internet Relay

Chat หรือ IRC)ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการสนทนาระ

หว่างบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลสามารถใช้

ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ

แทนตัวผู้สนทนาได้ นอกจากการสนทนาแล้ว

ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและไฟล์ได้อีกด้วย

        การใช้งาน IRC ผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังเครื่องที่เป็นไออาร์ซีเซิร์ฟ

เวอร์ (IRC server) ที่มีการแบ่งห้องสนทนาเป็นกลุ่ม ๆ ที่เรียกว่า

แชนแนล

(channel) โดยผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการสนทนา (ซึ่งสา

มารถดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต) เมื่อผู้ใช้ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอ

ร์ได้แล้ว ก็จะเลือกกลุ่มสนทนาหรือหัวข้อสนทนาที่สนใจ

และเริ่มสนทนาได้ตามความต้องการ ตัวอย่าง โปรแกรมสนทนาออนไล

น์ที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น ICQ(I Seek You) และ mIRC

        การสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ใ

นปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้สื่อประสม (multimedia) ประกอบด้วย

เสียงพูด และภาพเคลื่อนไหว โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไมโครโฟน

ลำโพง กล้องวีดีโอ และอื่น ๆ

เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อประสิทธิภาพของการสนทนา ให้ดียิ่งขึ้

ในส่วนของโปรแกรม ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการสนทนาออนไลน์

ที่มีคุณภาพ เช่น โปรแกรม Microsoft

NetMeeting ที่สามารถสนทนากันไปพร้อม ๆ กับมองเห็นภาพของคู่สน

ทนาได้ด้วย

        ☞ 1.5 เทลเน็ต (telnet)

        เทลเน็ตเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์

ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งาน

อยู่ ให้เป็นจอภาพ

ของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น การทำงานในลักษณะนี้ จะช่

วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเดินทางไปใช้งาน เครื่อ

งคอมพิวเตอร์ระยะไกล

การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความตัวอักษร (text

mode) โดยปกติการเข้าไปใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์

ระยะไกล จำเป็นต้องมีรายชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่ก็มีบางหน่วยงานที่อ

นุญาติให้เข้าใช้บริการโดยไม่ต้องระบุรหัสผ่านเพื่อ เป็นการให้บริการข้

อมูลแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป

 2.บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ

        2.1 การขนถ่ายไฟล์ (file transfer protocol)

        การขนถ่ายไฟล์ หรือที่เรียกสั้น ๆว่า เอฟทีพี

(FTP) เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิว

เตอร์ทาง อินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์จะเรียกว่า เอ

ฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP sever หรือ FTP

site) ข้อมูลที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะมีลักษณะหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อ

มูลสถิติ งานวิจัย บทความ เพลง ข่าวสารทั่วไป

หรือโปรแกรมฟรีแวร์ (freeware) ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้โปรแกร

ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะให้บริการ เฉพ

าะบุคคลที่มีบัญชีรายชื่ออยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ก้ฒีเครื่องค

อมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จำนวนมากอนุญาตให้ผู้ใช้ ทั่วไปได้

เข้าไปใช้บริการ ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะไม่อนุญาต ให้ขนถ่ายไฟล์ทั้งหม

ดก็ตาม

        2.2 โกเฟอร์ (gopher)

        เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะของการค้นหา

จาก เมนู(menu-based

search) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูล โปรแกรมโกเฟอร์พั

ฒนาโดยมหาวิทยาลัย Minnesota ในปี

ค.ศ. 1991 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการฐานข้อมูลจะเป็นลักษณะของ

เมนูลำดับชั้น (hierarchy) เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น

ๆ ที่กระจายกันอยู่หลายแหล่งได้

        2.3 อาร์ซี (archie)

        อาร์ซี เป็นการเข้าใช้บริการค้นหาข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่เป็นอ

าร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (archie sever

) ซึ่งเป็นแหล่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสถานที่ของข้อมูล จากนั้นก็จะไปค้น

ข้อมูลโดยตรงจากสถานที่นั้นต่อไป

        2.4 WAIS (Wide Area Information Severs)

        WAIS เป็นบริการค้นหาข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต

ที่ได้รวบรวม ข้อมูลและดรรชนีสำหรับสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ เ

พื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เพื่อสามารถเข้าไปยังข้อมูลที่ต้องการ

และ สามารถเชื่อมโยงไปยังศูนย์ข้อมูล WAIS อื่นๆ ได้ด้วย

        2.5 veronica

        veronica ย่อมาจาก very easy rodent-oriented net-wide

index to computerized

archives เป็นบริการที่รวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอำนวย ความสะดวกในกา

รค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

        2.6 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราเซอร์

        อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่

กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก การค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ถ้าผู้ใช้ไม่ทร

าบที่อยู่ของเว็บไซต์ ก็สามารถค้นหาแหล่งข้อมูลโดยใช้บริการค้นหาข้อ

มูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่อง ที่

กระทำได้สะดวกและรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นแหล่งข้อมู

ลที่เรียกว่า เครื่องค้นหา (search

engine) ช่วยให้การค้นหาทั้งในรูปของ

ข้อความและกราฟิกกระทำได้โดยง่าย เว็บไซต์ที่ช่วยสำหรับการสืบค้น

ข้อมูลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ yahoo.com,

altavista.com, lycos.com, excite.com, ask.com, infoseek.ccom

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น